รู้หรือไม่ ? เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลนั้น ต่างกันอย่างไร ?

               ปัจจุบัน เครื่องยนต์ในรถยนต์ที่ใช้งานหลักๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล แน่นอนว่าหลักการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบ ย่อมมีความแตกต่างกัน การเลือกใช้น้ำมันเครื่อง รวมไปถึงการดูแลรักษาเครื่องยนต์ จึงมีความสำคัญมาก ที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ให้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

               วันนี้ BEZ จะมาแนะนำว่า เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล ทำงานต่างกันอย่างไร รถยนต์แต่ละรุ่นเหมาะกับน้ำมันเครื่องแบบไหน รวมทั้ง วิธีการเช็คเครื่องยนต์ด้วยตัวเองเบื้องต้น

               เครื่องยนต์ในรถยนต์ ณ ปัจจุบันที่ใช้งานหลัก ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล และแน่นอนว่าเครื่องยนต์ทั้งแต่ละประเภทเมื่อหลักการทำงาน “ต่างกัน” การเลือกใช้น้ำมันเครื่องย่อมแตกต่างกันตามไปด้วย ท่ามกลางความเหมือนและความต่าง มาทำความเข้าใจลักษณะของเครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบนี้กันให้มากขึ้นดีกว่า ว่าการทำงานเป็นอย่างไร จุดเด่นของเครื่องยนต์แต่ละแบบมีอะไรบ้าง รวมไปถึงการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสม การดูแลเครื่องยนต์ต้องทำอย่างไร ให้เครื่องยนต์สมบูรณ์ขับขี่ได้เต็มประสิทธิภาพไปนาน ๆ วันนี้ BEZ จะเล่าให้ฟัง

หลักการทำงานของ เครื่องยนต์เบนซิน VS เครื่องยนต์ดีเซล คืออะไร ?

             แม้ว่ารถยนต์ในปัจจุบันจะมีขุมพลังทางเลือกใหม่ออกมามากมาย ยิ่งขุมกำลังไฟฟ้าต้องบอกว่ามาแรงมากในขณะนี้ อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์สันดาปภายในยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญของรถที่วิ่งใช้งานอยู่บนท้องถนนอยู่ ซึ่งมีแบบเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซินที่ถูกนำมาใช้งานอย่างยาวนาน จะว่าไปก็นับตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่รถยนต์ได้ถูกคิดค้นขึ้น แล้วหลักการทำงานของเครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างกันแค่ไหน ลองไปดูที่ข้อมูลด้านล่างนี้กัน

เครื่องยนต์เบนซิน

รถเก๋ง รถซิตี้ คาร์ หรือแม้กระทั่งรถหรูหลาย ๆ รุ่นจะนิยมใช้เครื่องยนต์เบนซิน เรียกกันว่า “เครื่องยนต์แก๊สโซลีน” ที่เรียกกันแบบนี้ก็เพราะว่าใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเบนซิน 91, 95, E20 ฯลฯ  หรือแม้แต่เอทานอลเป็นส่วนผสมในกระบวนการจุดระเบิด

เมื่อนำไปรวมกับอากาศและประกายไฟจากหัวเทียนเกิดการ “จุดระเบิด” ภายในเครื่องยนต์ที่มีหัวฉีดเป็นตัวจ่ายเชื้อเพลิง ผ่านขั้นตอนการทำงานแบ่งออกเป็น 4 จังหวะ คือ-ดูด-อัด-ระเบิด -คาย ภายในระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาทีภายในกระบอกสูบ จึงเรียกว่า “สันดาปภายใน” ช่วยกันทำงานตามกำลังของลูกสูบทุกลูกสลับกัน เกิดเป็น “แรงขับ” ให้เพลาไปหมุนล้อรถของเพื่อวิ่งเคลื่อนที่ออกตัวไปได้

จุดเด่นของเครื่องยนต์เบนซิน คืออะไร ?

  • เครื่องยนต์มีความเงียบกว่าเพราะมี “กำลังอัด” น้อยกว่าเครื่องยนต์ดีเซล

  • น้ำหนักเครื่องยนต์เบากว่า ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่หนักและหนาเพื่อมารองรับแรงอัดที่สูงภายในเครื่องยนต์

  • มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า(ดีเซล) เพราะเครื่องยนต์เบนซิน มีหัวเทียนมาช่วยในการจุดระเบิด ทำให้เผาไหม้ได้หมดจดกว่าควันน้อย

  • เครื่องยนต์รีดพละกำลังแรงม้าออกมาได้มาก เพราะสามารถลากรอบเครื่องได้สูงถึง 8,000-11,000 รอบต่อนาที

เครื่องยนต์ดีเซล

ประเภทเครื่องยนต์ที่มักอยู่ในรถที่ต้องใช้แรงบิดสูงอย่างรถปิคอัพ รถบรรทุก ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องยนต์ดีเซลกันด้วยเหตุผลด้านพละกำลังแรงบิด ดีเซลเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในที่อาศัยการจุดระเบิดโดยหลัก “อัดอากาศและฉีดเชื้อเพลิงด้วยความดันสูง” จนทำให้เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้เองโดย “ไม่จำเป็น” ต้องพึ่งหัวเทียนช่วยในการจุดระเบิด 

หลักการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลคือ เมื่ออากาศถูกอัดแน่นจะสะสมความร้อนสูงขึ้นและระบบได้รับเชื้อเพลิงจากหัวฉีดอย่างรวดเร็ว จะเกิดเป็นการระเบิดภายในและเผาไหม้ภายในกระบอกสูง ส่งเป็นแรงผลักไปยังลูกสูบ ก้านสูบ เพลาข้อเหวี่ยง จนกลายเป็นพละกำลังในการขับเคลื่อนของตัวรถ

จุดเด่น

  • มีประสิทธิภาพทางความร้อนสูงกว่า ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่า และประหยัดน้ำมันมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

  • มีความทนทานเพราะต้องใช้ชิ้นส่วนที่แข็งแรง เพื่อรองรับกำลังอัดสูงภายในกระบอกสูบ

  • พละกำลังแรงบิดที่รอบต่ำของเครื่องยนต์ดีเซลมี “มากกว่า” เครื่องยนต์เบนซิน รองรับการทำงานที่ยืดหยุ่น

  • น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาถูกกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล

เมื่อรู้หลักในการทำงานของทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินกันไปแล้ว มาถึงเรื่องของการบำรุงรักษาเครื่องยนต์กันต่อ เพราะรถที่ใช้งานทุกวันหากขาดการดูแล บำรุงรักษา อาจส่งผลในเรื่องของการใช้งาน ทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ที่มีอายุสั้นลง หรือถ้าหากขาดการตรวจเช็ค ความเสียหายในจุดหนึ่งอาจส่งผลลุกลามให้ชิ้นส่วนอื่น ๆ เสียหายตามไปได้ด้วย และแน่นอนว่าจะมาพร้อมกับค่าซ่อมไม่พึ่งประสงค์ของผู้ใช้รถทุกคนที่เลี่ยงไม่ได้ 

คำถามคือ การดูแลในเครื่องยนต์ที่ต่างประเภทกัน จะใช้หลักการพื้นฐานแบบเดียวกันได้หรือไม่ ? จริง ๆ โดยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน เครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงเรื่องขนาดเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันไปในรถแต่ละคัน การดูแลบำรุงรักษาส่วนหลัก ๆ ของเครื่องยนต์ จะไม่ต่างกันมากนัก และส่วนที่คุณต้องรู้จะมี…

1. น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องทำหน้าที่ “หล่อลื่น” ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ขยับไปมา รวมถึงระบายความร้อนที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์ หลักการดูแลน้ำมันเครื่องยนต์ไม่มีอะไรมาก นอกจากเรื่องการเปลี่ยนถ่ายตามระยะไมล์การใช้งานแล้ว ควรหมั่นตรวจเช็คน้ำมันเครื่องเป็นประจำว่าปริมาณอยู่ในระดับมาตรฐานที่เครื่องยนต์ต้องการด้วย โดยเฉพาะกับรถปีสูงหากน้ำมันเครื่องน้อยเกินไปจะยิ่งส่งผลเสียในการทำงานด้านต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ทั้งเรื่องการหล่อลื่น รวมไปถึงเรื่องความร้อนในเครื่องยนต์ นำไปสู่ความเสียหายรุนแรงที่เรียกว่า “Overheat” ได้เลย 

2. น้ำยาหม้อน้ำ

ตัวระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ที่ผสมระหว่างน้ำบริสุทธิ์และน้ำยาหม้อน้ำจะเป็นระบบปิดแบบ 100% ที่อาจจะมีหายไปบ้างเมื่อรถผ่านการใช้งาน แต่ก็เป็นปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากพบว่าระดับน้ำในระบบหล่อเย็นนี้หายไปผิดปกติ ซึ่งตรวจเช็กได้จากระดับน้ำในกระบอกเติมน้ำของหม้อน้ำ หากน้ำลดต่ำกว่าเกณฑ์มาก ต้องเติมน้ำเข้าไปมากบ่อย ๆ นั่นคือสัญญาณ ! ให้รีบหาร้านหม้อน้ำหรือศูนย์บริการตรวจเช็กเพื่อหาสาเหตุโดยด่วน ไม่อย่างงั้นอาการที่ว่าอาจส่งผลรุนแรงต่อระดับความร้อนของเครื่องยนต์จนทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้เลย (โดยเฉพาะฝาสูบ)

3. พัดลมหม้อน้ำไฟฟ้า

รถที่ผ่านการใช้งานมา 5-10 ปี อาการพัดลมหม้อน้ำเสียจะเริ่มแสดงให้เห็น ทำงานบ้างไม่ทำงานบ้าง และจะรู้ได้ว่าเสียก็ต่อเมื่อเกจ์วัดความร้อนที่หน้าปัดแจ้งเตือน บางคนใช้รถอาจไม่ค่อยสนใจเกจ์หน้าปัดสักเท่าไร ถึงอย่างไรในเรื่องความร้อนของเครื่องยนต์ที่สะท้อนผ่านเกจ์ความร้อนเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถไม่ควรมองข้าม 

ขับรถใช้งานไปสักพักหากความร้อนสูงผิดปกติ นั่นหมายถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้อุณหภูมิเครื่องยนต์ทำงานปกติกำลังมีปัญหา ควรไล่ตรวจสอบทั้งระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์ รวมไปถึงพัดลมหม้อน้ำไฟฟ้าที่หากไม่ทำงานขึ้นมา อาจส่งผลให้เครื่องยนต์ร้อนหนักจนเกิดความเสียหายรุนแรงมากมายตามมาได้เลย

4. กรองอากาศ

หากกรองอากาศของคุณสกปรก ฝุ่นจะเข้าไปอุดตันให้อากาศที่ไหลเข้าไปในระบบจุดระเบิดได้น้อยลง ส่งผลให้การเหยียบคันเร่งธรรมดาให้ปริมาณอากาศที่เหมาะต่อการจุดระเบิดไม่เพียงพออีกต่อไป ต้องเหยียบมากขึ้น เร่งบ่อยกว่าเดิม นี่คืออาการ “เร่งไม่ขึ้น” เมื่อใช้งาน ให้แก้ไขโดยการเปลี่ยนกรองอากาศใหม่ โดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนทุก ๆ 20,000 กิโลเมตรของการใช้งานรถ

5 ปัจจัยเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะกับรถของคุณ

1. เลือกประเภทน้ำมันเครื่อง

รถแต่ละคันในคู่มือการใช้งานจะระบุไว้ชัดเจนว่าควรเติมน้ำมันเครื่องแบบไหน แต่คุณสามารถสังเกตได้จากลักษณะของน้ำมันที่เติม เติมน้ำมันเบนซินก็ใช้น้ำมันเครื่องสำหรับรถเติมน้ำมันเบนซิน เติมน้ำมันดีเซลจะใช้น้ำมันเครื่องสำหรับรถดีเซล

2. เลือกชนิดน้ำมันเครื่อง

ชนิดน้ำมันเครื่องแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่มาจากการสังเคราะห์ขึ้นด้วยวิธีการทางเคมี 100 % ระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายอยู่ที่ 10,000-12,000 กิโลเมตร สูงสุดไม่เกิน 20,000 กิโลเมตร

  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เป็นน้ำมันที่มาจากการผสมระหว่างน้ำมันสังเคราะห์ SYNTHETIC กับ BASE OIL ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายอยู่ที่ 5,000-7,000 กิโลเมตร สูงสุดไม่เกิน 10,000 กิโลเมตร

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา น้ำมันเกรดธรรมดาที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายอยู่ที่ 5,000 กิโลเมตร สูงสุดไม่เกิน 7,000 กิโลเมตร

3. เลือก “ความหนืด” ของน้ำมันเครื่อง

ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องควรเลือกใช้ตามที่ระบุในคู่มือของรถยนต์แต่ละคัน อย่างไรก็ตามเมื่อเครื่องยนต์ผ่านการใช้งานมา การเลือกใช้น้ำมันเครื่องตามค่าความหนืดจะเปลี่ยนไปด้วย โดยรถยนต์แต่ละประเภทจะใช้ความหนืดที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • รถยนต์ที่ยังใหม่

มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ไม่เกิน 200,000 กิโลเมตร ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดต่ำ อาทิ SAE 10W-30 

  • รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน

มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์เกิน 200,000 กิโลเมตรขึ้นไป ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง อาทิ SAE 15W-40, SAE 20W-50

4. เลือกค่ามาตรฐานของน้ำมันเครื่อง

ค่ามาตรฐานน้ำมันเครื่องคือเกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ซึ่งในปัจจุบันมีหลายองค์กร แต่ในประเทศไทยจะนิยมใช้ของ API มากที่สุด โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

  • สัญลักษณ์ S เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ค่ามาตรฐานส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะเป็น SP ซึ่งเป็นเกรดสูงสุดของเบนซิน และเกรดต่ำลงมาจะไล่ลงตามตัวอักษรข้างหลัง เช่น SN, SM, SL ไปเรื่อย ๆ

  • สัญลักษณ์ C เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ค่ามาตรฐานส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะเป็น CK-4 ซึ่งถือเป็นเกรดสูงสุดของดีเซล ตัวเลข 4 หมายถึงเครื่องยนต์ 4 จังหวะ หากเกรดต่ำลงมาก็จะไล่ลงตามตัวอักษรข้างหลัง เช่น CI-4, CH-4 ไปเรื่อยๆ

5. เลือกยี่ห้อ ราคา และโปรโมชั่น

น้ำมันเครื่องแต่ละประเภทมีราคาที่แตกต่างกันตามเกรดคุณภาพ แต่ละยี่ห้อยังมีหลายช่วงราคาให้เลือก แต่หลัก ๆ ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องตามคู่มือการใช้งานของรถแต่ละคัน ใช้น้ำมันเครื่องให้ตรงกับประเภทรถว่าเป็นรถเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล รวมไปถึงพิจารณาเลือกใช้ตามลักษณะรถยนต์คันที่ใช้งานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

เหนือสิ่งอื่นใด ! ไม่ว่าน้ำมันเครื่องที่คุณเลือกใช้จะเป็นยี่ห้ออะไร ราคาเท่าไร หรือได้มาพร้อมกับโปรโมชั่นแบบไหน ควรเป็นน้ำมันเครื่องที่ได้รับมาตรฐานการรับรองถูกต้องจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่น เลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ได้รับมาตรฐาน API หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องการันตีว่าน้ำมันเครื่องที่เลือกใช้สำหรับรถของคุณนั้น ตรงตามมาตรฐานความเป็นน้ำมันเครื่องคุณภาพครบทุกมิติ ทั้งในด้านการหล่อลื่น ความหนืด การช่วยระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์ ฯลฯ นำไปสู่ประสิทธิภาพและสมรรถนะในการขับขี่สูงสุด

และน้ำมันเครื่องจาก BEZ คือคำตอบที่เหมาะกับรถคุณ เพราะรองรับทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ได้รับมาตรฐานคุณภาพจากสถาบัน API เลือกได้ให้เหมาะกับรถคุณ หากไม่มั่นใจว่ารถของคุณเหมาะกับใช้น้ำมันเครื่องตัวไหนจาก BEZ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากทีมงานได้ทันที เพราะเรายินดีให้คำแนะนำเพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดของรถคุณ

ทั้งหมดนี้คือความต่างของขุมกำลังทั้ง 2 ประเภท หากจะให้ตั้งธงว่าคุณควรใช้เครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซลคงเป็นเรื่องยาก เพราะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของรถคุณ ใช้งานขับขี่ทั่วไปเน้นอัตราเร่งดีไว้ก่อน เครื่องยนต์เบนซินตอบโจทย์ได้ในการใช้งาน แต่หากเป็นรถที่เน้นการบรรทุก ต้องใช้แรงบิดสูงกว่าอย่างเช่นรถปิคอัพ ก็จะไปในโทนของเครื่องยนต์ดีเซลที่เหมาะกับการใช้งานมากกว่า

แต่ถึงอย่างไรไม่ว่ารถของคุณจะเป็นเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล การดูแลรักษาเพื่อสมรรถนะการขับขี่ที่สมบูรณ์แบบมีประสิทธิภาพนั้น เริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากการเลือกใช้น้ำมันเครื่องดี ๆ เลือกน้ำมันเครื่อง BEZ ดีที่สุดสำหรับรถคุณ